คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2547
ป.พ.พ. มาตรา 146
ป.อ. มาตรา 335
พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 73
นาง ล.ภริยาจำเลย และนาง ห.แม่ยายจำเลย เคยเข้าไปปลูกสร้างอาคารและกรีดยางในที่ดินพิพาท แต่ถูกโจทก์ฟ้องขับไล่ และศาลมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ขับไล่นาง ล.และนาง ห. รวมทั้งจำเลยในฐานะบริวารด้วย
โจทก์เป็นผู้ถือประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ในบริเวณที่ดินพิพาท ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โจทก์ย่อมมีสิทธิในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท ส่วนนาง ห. จะเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์เท่านั้น ไม่สามารถเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยลำพังได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้ปลูกสร้างต้นยางพาราในที่ดินพิพาท ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 73 ให้สิทธิแก่ผู้ถือประทานบัตรใช้ที่ดินในเขตเหมืองแร่ ที่มีแร่ไม่สมบูรณ์พอที่จะเปิดทำเหมือง เพื่อเกษตรกรรมในระหว่างอายุประทานบัตรได้
การที่โจทก์ปลูกต้นยางพาราลงในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตเหมืองแร่ เป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือประทานบัตร ไม่ทำให้ต้นยางพาราที่ปลูกไว้เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 และยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ การที่จำเลยกรีดเอาน้ำยางพาราจากต้นยางพาราของโจทก์ไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2538
ป.พ.พ. มาตรา 150, 1367
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ฯ มาตรา 14, 31
แม้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14 จะห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ก็ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่นและย่อมมีสิทธิขายการครอบครองให้แก่บุคคลอื่นได้ ไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และเมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ครอบครองทำกินในที่ดินดังกล่าวอยู่ จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำการครอบครองที่ดินไปขายให้โจทก์ เมื่อโจทก์เข้าครอบครองที่ดินไม่ได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์
หมายเหตุ
(1) สิทธิครอบครองเป็นสิทธิที่ได้มาโดยข้อเท็จจริง(defacto) บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินไม่ว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด มีเจ้าของหรือไม่ โดยมีเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครองทั้งสิ้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1367) บุคคลทั่วไปจะเรียกว่าสิทธิอะไรไม่สำคัญเมื่อเป็นการยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนแล้ว(หมายความเพียงว่าเพื่อประโยชน์ของตน ไม่ถึงขนาดเจตนาเป็นเจ้าของ) ก็ย่อมถือว่าได้สิทธิครอบครองมีสิทธิครอบครองอยู่นั่นเอง
ศาสตราจารย์ จิตติติงศภัทิย์ ได้กล่าวไว้ในบันทึกท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2527 ซึ่งจัดพิมพ์โดยเนติบัณฑิตยสภามีความดังนี้ “ครอบครองเป็นสิทธิในตัวเอง โดยผลของกิริยายึดถือด้วยเจตนายึดถือเพื่อตนตามมาตรา 1367 ไม่ต้องอาศัยอำนาจโดยกฎหมายอื่นใดอีก แม้ผู้ที่ขโมยหรือผู้บุกรุกก็ “ครอบครอง" เป็น “การครอบครอง" และได้ "สิทธิครอบครอง" โดยสมบูรณ์ จะมีการครอบครองโดยไม่มีสิทธิครอบครองไม่ได้ใครจะเอาคืนได้อย่างไร ก็ต้องอาศัยสิทธิดีกว่าหาใช่ผู้ยึดถือเพื่อตนที่ครอบครองในปัจจุบันไม่มีสิทธิครอบครองมิได้"
ดังนี้ จะเห็นได้ว่า แม้จะไม่เรียกว่าสิทธิครอบครองก็ยังถือว่าเป็นสิทธิครอบครองอยู่ดี ศาสตราจารย์จิตติติงศภัทิย์ กล่าวไว้ในหนังสือคำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอน 2 และภาค 3 ของท่านซึ่งจัดพิมพ์โดยเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ.2513 เป็นเวลากว่า 25 ปี มาแล้วหน้า 1953-1954 ดังนี้ “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1367 ใช้คำว่าสิทธิครอบครอง ส่วนมาตรา 1380 ใช้คำว่าการครอบครองสิทธิครอบครองกับการครอบครองเป็นอันเดียวกัน เพียงแต่เมื่อกล่าวในแง่สิทธิเรียกว่าสิทธิครอบครอง กิริยาที่ผู้ครอบครองกระทำต่อทรัพย์สินนั้นคือครอบครอง การกระทำของผู้ครอบครองเรียกว่าการครอบครอง สิทธิของผู้ครอบครองเรียกว่าสิทธิครอบครอง หาใช่ว่าสิทธิครอบครองทางแพ่งต่างกับการครอบครองทางอาญาแต่ประการใดไม่"
ป.พ.พ. มาตรา 146
ป.อ. มาตรา 335
พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 73
นาง ล.ภริยาจำเลย และนาง ห.แม่ยายจำเลย เคยเข้าไปปลูกสร้างอาคารและกรีดยางในที่ดินพิพาท แต่ถูกโจทก์ฟ้องขับไล่ และศาลมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ขับไล่นาง ล.และนาง ห. รวมทั้งจำเลยในฐานะบริวารด้วย
โจทก์เป็นผู้ถือประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ในบริเวณที่ดินพิพาท ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โจทก์ย่อมมีสิทธิในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท ส่วนนาง ห. จะเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์เท่านั้น ไม่สามารถเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยลำพังได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้ปลูกสร้างต้นยางพาราในที่ดินพิพาท ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 73 ให้สิทธิแก่ผู้ถือประทานบัตรใช้ที่ดินในเขตเหมืองแร่ ที่มีแร่ไม่สมบูรณ์พอที่จะเปิดทำเหมือง เพื่อเกษตรกรรมในระหว่างอายุประทานบัตรได้
การที่โจทก์ปลูกต้นยางพาราลงในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตเหมืองแร่ เป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือประทานบัตร ไม่ทำให้ต้นยางพาราที่ปลูกไว้เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 และยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ การที่จำเลยกรีดเอาน้ำยางพาราจากต้นยางพาราของโจทก์ไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2538
ป.พ.พ. มาตรา 150, 1367
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ฯ มาตรา 14, 31
แม้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14 จะห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ก็ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่นและย่อมมีสิทธิขายการครอบครองให้แก่บุคคลอื่นได้ ไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และเมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ครอบครองทำกินในที่ดินดังกล่าวอยู่ จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำการครอบครองที่ดินไปขายให้โจทก์ เมื่อโจทก์เข้าครอบครองที่ดินไม่ได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์
หมายเหตุ
(1) สิทธิครอบครองเป็นสิทธิที่ได้มาโดยข้อเท็จจริง(defacto) บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินไม่ว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด มีเจ้าของหรือไม่ โดยมีเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครองทั้งสิ้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1367) บุคคลทั่วไปจะเรียกว่าสิทธิอะไรไม่สำคัญเมื่อเป็นการยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนแล้ว(หมายความเพียงว่าเพื่อประโยชน์ของตน ไม่ถึงขนาดเจตนาเป็นเจ้าของ) ก็ย่อมถือว่าได้สิทธิครอบครองมีสิทธิครอบครองอยู่นั่นเอง
ศาสตราจารย์ จิตติติงศภัทิย์ ได้กล่าวไว้ในบันทึกท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2527 ซึ่งจัดพิมพ์โดยเนติบัณฑิตยสภามีความดังนี้ “ครอบครองเป็นสิทธิในตัวเอง โดยผลของกิริยายึดถือด้วยเจตนายึดถือเพื่อตนตามมาตรา 1367 ไม่ต้องอาศัยอำนาจโดยกฎหมายอื่นใดอีก แม้ผู้ที่ขโมยหรือผู้บุกรุกก็ “ครอบครอง" เป็น “การครอบครอง" และได้ "สิทธิครอบครอง" โดยสมบูรณ์ จะมีการครอบครองโดยไม่มีสิทธิครอบครองไม่ได้ใครจะเอาคืนได้อย่างไร ก็ต้องอาศัยสิทธิดีกว่าหาใช่ผู้ยึดถือเพื่อตนที่ครอบครองในปัจจุบันไม่มีสิทธิครอบครองมิได้"
ดังนี้ จะเห็นได้ว่า แม้จะไม่เรียกว่าสิทธิครอบครองก็ยังถือว่าเป็นสิทธิครอบครองอยู่ดี ศาสตราจารย์จิตติติงศภัทิย์ กล่าวไว้ในหนังสือคำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอน 2 และภาค 3 ของท่านซึ่งจัดพิมพ์โดยเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ.2513 เป็นเวลากว่า 25 ปี มาแล้วหน้า 1953-1954 ดังนี้ “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1367 ใช้คำว่าสิทธิครอบครอง ส่วนมาตรา 1380 ใช้คำว่าการครอบครองสิทธิครอบครองกับการครอบครองเป็นอันเดียวกัน เพียงแต่เมื่อกล่าวในแง่สิทธิเรียกว่าสิทธิครอบครอง กิริยาที่ผู้ครอบครองกระทำต่อทรัพย์สินนั้นคือครอบครอง การกระทำของผู้ครอบครองเรียกว่าการครอบครอง สิทธิของผู้ครอบครองเรียกว่าสิทธิครอบครอง หาใช่ว่าสิทธิครอบครองทางแพ่งต่างกับการครอบครองทางอาญาแต่ประการใดไม่"